เมื่อฝุ่นบุกเมือง

บรรยากาศเหมือนหมอกยามเช้า แต่สายแล้วน้องหมอกก็ยังไม่ยอมหายไป เพราะหมอกที่เราเห็นไม่ใช่หมอกจากน้ำที่กลั่นตัว พออุณหภูมิ​สูงขึ้นก็ระเหยกลายเป็นไอไป

 

หมอกที่เราเห็นช่วงนี้ทั้งในเมืองหลวงของเราและเมืองใหญ่  มันคือ ฝุ่นละออง

 

ฝุ่นละออง หรือ ละอองธุลี[1] คือ ของแข็งขนาดเล็กที่ลอยอยู่ในอากาศหรือน้ำ ซึ่งเกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์โดยนับเป็นมลพิษทางอากาศและมลพิษทางน้ำประเภทหนึ่ง

ฝุ่นละอองมีที่มาหลากหลายทั้งจากธรรมชาติ อาทิ เช่น ภูเขาไฟ พายุทราย ไฟป่า ไอเกลือ หรือการกระทำของมนุษย์ เช่น ไอของเสียจากรถยนต์ โรงงานไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึง การเผาหญ้า และการเผาป่า ในประเทศกำลังพัฒนาฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นมักจะเกิดจากโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากถ่านหิน

ปริมาณฝุ่นละอองในอากาศจำนวนมากส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ ก่อให้เกิดปัญหาหลากหลาย เช่น โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคปอด รวมไปถึงมะเร็งปอด ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยพวกตัวกรองแบบต่างๆ เช่น หน้ากาก

ฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่จะตกอยู่บนพื้นตามแรงโน้มถ่วงของโลก ขณะที่ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครเมตร (PM10) จะลอยอยู่ในอากาศได้หลายสัปดาห์ และจะถูกกำจัดโดยฝนหรือหยาดน้ำฟ้าประเภทอื่น

ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมโครเมตร (PM 2.5) คืออนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ถึง 2.5 เท่า

 

***

ผู้ป่วยภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ทั้งเด็ก และ ผู้ใหญ่ ในภาวะทั่วไปเมื่อเจอสารก่อภูมิแพ้ที่ตนแพ้ก็จะแสดงอาการในแต่ระบบที่ต่างกันไป เช่น จาม น้ำมูกไหล คันจมูก คันตา คัดแน่นจมูก หายใจไม่ออก ไอ หอบ และ หายใจลำบาก

สารระคายเคืองต่างๆ เช่น แป้ง น้ำหอม สเปรย์ กลิ่นฉุน ควันธูป ควันบุหรี่ ควันจากการจราจร ควันจากอุตสาหกรรม และฝุ่นควันต่างๆ ก็กระตุ้นให่เกิดอาการได้เช่นกัน

 

หลีกเลี่ยง อย่างไร พูดง่ายแต่ทำยากหรือไม่

มาดูกัน

  1. เอาตัวออกจากสถานที่ที่มีสารก่อภูมิแพ้ สารระคายเคือง

ในกรณีเผชิญฝุ่นควัน ไม่ออกนอกอาคารโดยไม่จำเป็น

  1. ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องป้องกันตนเอง ใส่หน้ากากอนามัย ผ้าปิดปากปิดจมูก บางท่านจะใช้ผ้าชุบน้ำปิดปากปิดจมูก
  2. ล้างจมูกทันที เมื่อกลับเข้ามาในอาคารแล้ว เพื่อลดปริมาณสารดังกล่าว

 

หากพบความผิดปกติต่อรางกาย ควรปรึกษาแพทย์

***

 

อ้างอิง

[1] ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน particulate

 

 

ด้วยความปรารถนา​ดี

 

ศูนย์​ภูมิแพ้​และภูมิคุ้มกัน​ในเด็ก

โรงพยาบาล​สมิติเวช ศรีราชา​

 

(บทความโดย พ.ญ.อวยพร ชีวะถาวร)​

 

ศูนย์ข้อมูลเพิ่มเติม

โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 038-320-300