การตรวจสมรรภาพการได้ยิน (Audiometry)

เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองว่าคนทำงานยังมีความสามารถในการฟังเสียงได้อย่างชัดเจนอยู่หรือไม่ 

โดยส่วนใหญ่จะทำการตรวจคัดกรองเสียงที่ความถี่ต่างๆ ของหูแต่ละข้าง การตรวจนี้มีประโยชน์ในการคัดกรองโรคประสาทหูเสื่อม จากการทำงาน ในผู้ที่ต้องทำงานในที่ๆ มีเสียงดัง และใช้ประเมินความพร้อมในการทำงานบางชนิด ที่มีความจำเป็นในการประเมินความสามารถในการได้ยินเสียง เช่น การทำงานขับรถ การทำงานในที่อับอากาศเป็นต้น  

การตรวจสมรรภาพการได้ยิน Audiometry

เราแยกตามวัตถุประสงค์ของการตรวจออกเป็น 3 วัตถุประสงค์ ดังนี้

01

Fitness to work เพื่อประเมินความพร้อมในการทำงาน และสำหรับพนักงานที่ทำอาชีพไดรเวอร์ Sales person Call center offshore Seafarer

02

Health serverent in conservation program เพื่อเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ ตามมาตราฐานการอนุรักษ์การได้ยิน

03

Hearing invasion เพื่อประเมินระดับการได้ยิน แบบทั่วไปหรือที่เรียกว่าตามสวัสดิการ 

ปัจจุบันโรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา

มีรถตรวจสมรรถภาพการได้ยินเคลือนที่ ภายในรถประกอบด้วยห้องตรวจการได้ยินจำนวน 4 ห้อง เจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจได้รับการอบรมและปฎิบัติการตรวจตามขั้นตอนตามมาตราฐานงานอาชีวอนามัย แปลผลและรับรองผลการตรวจโดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ เครื่องตรวจและห้องตรวจผ่านมาตราฐาน OSHA และ ANSI

ตรวจสมรรถภาพการมองเห็นด้วยเครื่องตรวจวัดสายตาอาชีวอนามัย 

มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสามารถในการมองเห็นว่าสายตาเหมาะสมกับงานที่ทำอยู่หรือไม่ การปฎิบัติงานของลูกจ้างบางอาชีพจำเป็นต้องมีสมรรภาพการมองเห็นที่เหมาะสมกับลักษณะงานที่ทำ เพื่อทำให้งานมีคุณภาพและเกิดความปลอดภัยในการทำงาน เช่น การประกอบชิ้นงาน ชิ้นเล็กๆ การแยกสี การขับรถโฟคลิฟ

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัด ให้มีการตรวจสมรรถภาพการมองเห็น เพื่อตรวจสอบความสามารถในการใช้สายตาของลูกจ้างรวมถึงเฝ้าระวัง อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเนื่องจากการประกอบอาชีพของลูกจ้าง

การตรวจสมรรถภาพการมองเห็นด้วยเครื่องตรวจสายตาอาชีวอนามัย 

01

การทดสอบการทำงานร่วมกันของตาสองข้าง

02

การทดสอบความคมชัดในการมองเห็น

03

การมองภาพสามมิติ

04

การแยกสี

05

การทดสอบแกนสายตาในแนวตั้งและแนวนอน