ติดต่อสอบถาม 038-320-300

Carotid Duplex


Carotid Duplex Ultrasound คืออะไร?

     การตรวจหลอดเลือดใหญ่บริเวณคอที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ทั้งระบบหลอดเลือดส่วนหน้า (Carotid Artery) และระบบหลอดเลือดส่วนหลัง (Vertebral Artery& Basilar Artery)โดยอาศัยคลื่นความถี่สูง ซึ่งสามารถตรวจได้ทั้งโครงสร้าง และลักษณะการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือดตลอดจนประเมินความเสี่ยง อันอาจนำไปสู่สภาวะหลอดเลือดตีบในอนาคต

 

อาการที่สงสัยว่าอาจมีการตีบของเส้นเลือด

  • ตรวจพบเสียง Carotid Bruit ที่ลำคอจากการตรวจร่างกายโดยแพทย์
  • ตรวจพบก้อนที่เคลื่อนไหวตามชีพจรที่ลำคอ
  • มีอาการตาดับชั่วคราว
  • โรคสมองขาดเลือดจากหลอดเลือดสมองตีบตัน
  • โรคสมองขาดเลือดชั่วคราว
  • ตรวจติดตามภาวะหลอดเลือดไปเลี้ยงสมองตีบตัน และหลังการผ่าตัดหลอดเลือดที่คอ
  • มีอาการเวียนศรีษะเดินเซโคลงเคลง

 

ใครบ้างที่ควรตรวจ

  1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทุกราย
  2. ผู้ป่วยที่ตรวจพบเสียง Carotid bruit หรือก้อนที่เคลื่อนไหวตามชีพจรที่ลำคอ
  3. ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดไปเลี้ยงสมองตีบตัน ทั้งที่ได้รับการผ่าตัดและยังไม่ได้รับการผ่าตัด
  4. ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคไขมันในเลือดสูง
  • โรคเบาหวาน
  • สูบบุหรี่
  • มีประวัติโรคหลอดเลือดสมองในครอบครัว
  1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease)
  2. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral Vascular Disease)
  3. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm)

 

วิธีการตรวจ

       เครื่องนี้จะใช้คลื่นเสียงความถี่สูงตรวจบริเวณลำคอในท่านอนหงายหรือท่านั่ง ซึ่งผู้รับการตรวจไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใด ๆ เป็นพิเศษ หลังได้รับการตรวจแล้วสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์สมอง โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา

ชั้น 1 อาคาร C 
โทร. 038-320-300 ต่อ 4183,4184

 

01 มีนาคม 2563

แพ็คเกจที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งปอด ด้วยเครื่อง CT Scan

สูบบุหรี่จัดเป็นเวลานาน ไอเรื้อรัง ฝุ่น PM2.5 เสี่ยงเป็นมะเร็งปอด

สมอง หัวใจ ปอด 2C1U

สมอง หัวใจ ปอด 3 อวัยวะที่ทำงานหนักมาโดยตลอด คุณดูแลดีแค่ไหน?

บทความสุขภาพ

ดูทั้งหมด

แคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (CT Coronary artery Calcium Scoring)

แคลเซียมหรือหินปูนที่หัวใจ นี้อาจเกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือด ที่ลิ้นหัวใจ หรือที่เยื่อหุ้มหัวใจ ที่ควรระวังคือหินปูนที่เกาะที่ผนังหลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งเกิดจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง และจะเกิดขึ้นก่อนเกิดอาการของโรคหัวใจนานหลายปี จากการศึกษาพบว่าปริมาณแคลเซียมนี้สามารถทำนายโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ นอกเหนือจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือการสูบบุหรี่ ภาวะแคลเซี่ยมเกาะที่หลอดเลือดนี้ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลัน