การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด
นพ. ศรัณย์ จิระมงคล
ปัจจุบันมะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยมากที่สุดอันหนึ่ง และเป็นมะเร็งที่พบว่ามีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งทุกชนิด การรักษามะเร็งปอดยิ่งรักษาเร็วยิ่งมีโอกาสสามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นจะดีกว่าหรือไม่ถ้าหากเรารับการตรวจพบได้ก่อนที่จะสายเกินไป แล้วแบบใดถึงเป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสุขภาพถ่ายภาพเอกเรย์ (Chest X-ray) เป็นประจำทุกปีเพียงพอหรือไม่ เป็นคำถามที่ประชากรส่วนใหญ่ยังคงตั้งคำถามกับตัวเอง ในบทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ทุกท่านได้หันกลับมามองตนเอง และใส่ใจตนเองเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในปัจจุบันไม่อาจปฏิเสธได้ว่าประเทศไทยกำลังพบกับปัญหาเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็ก Particulate Matter 2.5 (PM2.5) อย่างหนักติดอันดับโลก และเป็นที่ทราบกันดีว่า ฝุ่นละอองดังกล่าวเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความผิดปกติของทางเดินหายใจ รวมถึงการเกิดมะเร็งได้เช่นกัน
การตรวจคัดกรอง
การรักษามะเร็งปอดที่ดีต้องเริ่มจากการตรวจพบได้อย่างรวดเร็วเสียก่อน โดยพบว่าการตรวจพบมะเร็งปอดในระยะแรกนั้น มีอัตราการกลับมาเป็นโรคซ้ำเพียงประมาณ 20-26% เท่านั้น เมื่อเทียบกับในผู้ป่วยที่รับการรักษาในระยะที่ 3 ซึ่งพบว่ามีอัตรากลับมาเป็นซ้ำสูงถึง 52-70% (2) มะเร็งปอดในระยะแรกนั้นมักไม่มีอาการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ส่งผลให้ผู้ป่วยนั้นไม่ทราบว่าตนเองมีความผิดปกติจนกว่าจะได้รับการตรวจคัดกรอง เป็นที่น่าเสียดายที่ในปัจจุบันนี้ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ภายหลังจากเริ่มมีอาการผิดปกติแล้ว อาทิ อาการไอเรื้อรัง, เหนื่อยง่ายหายใจไม่สุด, ไอเสมหะปนเลือด, ปวดกระดูกเจ็บหน้าอก, เสียงแหบ และ/หรือ น้ำหนักลดผิดปกติ ซึ่งอาการดังกล่าวมักแสดงเมื่อการดำเนินของโรคเป็นมาระยะหนึ่งแล้ว
ตรวจคัดกรองด้วยเอกเรย์ปอดประจำปีเป็นประจำเพียงพอหรือไม่?
ภาพถ่ายเอกเรย์ปอด (Chest x-ray) ปกติเป็นภาพถ่ายในรูปแบบสองมิติ เสมือนการมองภาพบุคคลในกระดาษ การดูมิติของภาพไม่สามารถบอกได้ชัดเจน การซ้อนทับกันของเส้นเลือดปอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีเงาของอวัยวะภายใน อาทิ หัวใจ หลอดเลือดแดงใหญ่ และกระดูก บดบังเงาที่ผิดปกติในปอด อาจทำให้การแปลผลผิดพลาด ซึ่งการพบเห็นเงาที่ผิดปกติในเอกเรย์ปอดนั้นมักพบเมื่อก้อนมีขนาดใหญ่และอยู่ในตำแหน่งที่ชัดเจน แม้ว่าปัจจุบันมีเทคโนโลยีเรื่องของ AI มาช่วยในการอ่านวิเคราะห์ภาพถ่ายเอกเรย์ปอด แต่ AI ในปัจจุบันยังมีความผิดพลาดในการแปลผลอยู่อย่างมาก ในงานวิจัย พบว่าการติดตามด้วยเอกเรย์ปอดปกติทุกปีกลับไม่ลดอัตราการตายจากมะเร็งปอด จึงอาจตีความได้ว่าการตรวจเอกเรย์ปอดนั้นประสิทธิภาพในการตรวจพบมะเร็งปอดในระยะแรกนั้นไม่ดีเท่าที่ควร อาจส่งผลต่อการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยที่ล่าช้า
ถ้าเอกเรย์ปอดทั่วไปมองเห็นไม่ดี แล้วควรตรวจด้วยอะไร?
การทำเอกเรย์คอมพิวเตอร์ (Chest computed tomography : CT Chest) มีข้อดีที่เหนือชั้นกว่าการทำเอกเรย์ปอดทั่วไปอย่างมาก ด้วยการมองภาพที่เห็นเป็นสามมิติ สามารถบ่งบอกลักษณะของก้อน รวมถึงตำแหน่งได้อย่างชัดเจน สามารถแยกเงาออกจากอวัยวะข้างเคียงได้ สามารถใช้สำหรับการวางแผนการรักษาได้อย่างดี และอาจมองเห็นสิ่งผิดปกติอื่นๆที่มองเห็นได้ไม่ชัดเจนจากภาพถ่ายเอกเรย์ปกติได้ ช่วยทำให้การวินิจฉัยเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ตรวจพบจุดผิดปกติได้แม้ขนาดของจุดจะเล็กเพียง 2-3 มิลลิเมตร แต่การทำเอกเรย์คอมพิวเตอร์นั้นมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการทำเอกเรย์ปอดทั่วไปอย่างมาก รวมถึงปริมาณรังสีที่ได้รับด้วยเช่นกัน
เพื่อให้การคัดกรองเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และลดข้อเสียจากการทำเอกเรย์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ปริมาณรังสีที่สูง และการฉีดสารทึบแสงที่มีผลต่อไต จึงได้มีการพัฒนาเทคนิคการทำเอกเรย์คอมพิวเตอร์ปอดโดยใช้ปริมาณรังสีที่น้อยลงและไม่ต้องฉีดสารทึบแสง (Low-dose CT : LDCT) เพื่อกลบข้อเสียข้างต้นขึ้นโดยยังได้ข้อดีของการถ่ายภาพเป็นสามมิติอยู่ โดยแลกกับความละเอียดของภาพที่ลดลงเล็กน้อย แต่ยังคงสามารถเห็นจุดผิดปกติได้ สามารถทำได้บ่อยมากขึ้น สามารถใช้ติดตามได้ในระยะยาว การทำเอกเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยเทคนิคดังกล่าวจึงถูกใช้เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดที่ยอมรับอย่างแพร่หลายทั่วโลก
แล้วเมื่อใดจึงควรมาตรวจด้วย Low-dose CT?
การมาตรวจด้วย LDCT อาจไม่ได้มีแต่เพียงข้อดีอย่างเดียวเท่านั้น การตรวจด้วย LDCT ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการทำเอกเรย์ปอดทั่วไปประมาณหนึ่ง อีกทั้งการตรวจพบจุดผิดปกติส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้เข้ารับการตรวจแม้ว่าจุดดังกล่าวอาจไม่ได้ร้ายแรงก็ตาม ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์จากการทำ LDCT มากที่สุด จึงแนะนำให้ตรวจในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งปอด
เป็นที่ทราบกันดีว่าบุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด โดยพบว่าการสูบบุหรี่นั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่มากถึง 20 เท่า แต่การสูบบุหรี่ในปริมาณเท่าใดจึงนับว่ามีความเสี่ยงสูง ให้ลองคำนวณจากการคิดค่าเฉลี่ยของการสูบบุหรี่ในแต่ละวันจำนวนหน่วยเป็นซอง คูณด้วยจำนวนปีที่สูบ จะได้จำนวนซองบุหรี่ที่สูบ (pack-year) ถ้าหากท่านมีอายุ 50 ปี ขึ้นไป และคำนวณจำนวนซองบุหรี่ที่สูบได้ตั้งแต่ 20 pack-year ขึ้นไป ควรได้รับการการตรวจคัดกรองด้วย LDCT
บุหรี่มือสองคือการสัมผัสหรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีการสูบบุหรี่ ทำให้ได้รับควันบุหรี่เข้าไปโดยที่ไม่ได้สูบโดยตรง แม้ว่าจะมีรายงานถึงความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งปอด แต่การหาปริมาณที่ร่างกายได้รับยังคงคำนวณได้ยาก จึงอาจต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงอื่นๆร่วมด้วย
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่ควรพิจารณา
มะเร็งปอดเป็นแล้วรักษายาก โอกาสเสียชีวิตสูง?
เรามักได้ยินกันประจำถึงเรื่องการรักษามะเร็งปอดต้องให้ยาเคมีรุนแรง ผ่าตัดแล้วได้ผลไม่ดี ความเสี่ยงจากการผ่าตัดสูง รักษาไม่หายสักที อันที่จริงแล้วการรักษามะเร็งปอดในระยะแรกสามารถทำการรักษาด้วยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอ อีกทั้งการผ่าตัดปอดในปัจจุบันวิทยาการการผ่าตัดก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก ทำให้สามารถทำการผ่าตัดผ่านกล้องแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลงไม่ได้น่ากลัวเหมือนสมัยก่อนแล้ว การตรวจพบความผิดปกติในระยะแรกเริ่มจึงส่งผลดีต่อการรักษา ทั้งการผ่าตัดที่ง่ายขึ้น ความเสี่ยงจากการผ่าตัดที่น้อยลง โอกาสหายจากโรคที่สูงขึ้น และลดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาเคมี จึงดีกว่าหรือไม่หากเราวินิจฉัยจุดผิดปกติได้เร็วก่อนจะมีอาการหรือระยะที่รักษาได้ยาก
Reference
การตรวจคัดกรอง
การรักษามะเร็งปอดที่ดีต้องเริ่มจากการตรวจพบได้อย่างรวดเร็วเสียก่อน โดยพบว่าการตรวจพบมะเร็งปอดในระยะแรกนั้น มีอัตราการกลับมาเป็นโรคซ้ำเพียงประมาณ 20-26% เท่านั้น เมื่อเทียบกับในผู้ป่วยที่รับการรักษาในระยะที่ 3 ซึ่งพบว่ามีอัตรากลับมาเป็นซ้ำสูงถึง 52-70% (2) มะเร็งปอดในระยะแรกนั้นมักไม่มีอาการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ส่งผลให้ผู้ป่วยนั้นไม่ทราบว่าตนเองมีความผิดปกติจนกว่าจะได้รับการตรวจคัดกรอง เป็นที่น่าเสียดายที่ในปัจจุบันนี้ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ภายหลังจากเริ่มมีอาการผิดปกติแล้ว อาทิ อาการไอเรื้อรัง, เหนื่อยง่ายหายใจไม่สุด, ไอเสมหะปนเลือด, ปวดกระดูกเจ็บหน้าอก, เสียงแหบ และ/หรือ น้ำหนักลดผิดปกติ ซึ่งอาการดังกล่าวมักแสดงเมื่อการดำเนินของโรคเป็นมาระยะหนึ่งแล้ว
ตรวจคัดกรองด้วยเอกเรย์ปอดประจำปีเป็นประจำเพียงพอหรือไม่?
ภาพถ่ายเอกเรย์ปอด (Chest x-ray) ปกติเป็นภาพถ่ายในรูปแบบสองมิติ เสมือนการมองภาพบุคคลในกระดาษ การดูมิติของภาพไม่สามารถบอกได้ชัดเจน การซ้อนทับกันของเส้นเลือดปอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีเงาของอวัยวะภายใน อาทิ หัวใจ หลอดเลือดแดงใหญ่ และกระดูก บดบังเงาที่ผิดปกติในปอด อาจทำให้การแปลผลผิดพลาด ซึ่งการพบเห็นเงาที่ผิดปกติในเอกเรย์ปอดนั้นมักพบเมื่อก้อนมีขนาดใหญ่และอยู่ในตำแหน่งที่ชัดเจน แม้ว่าปัจจุบันมีเทคโนโลยีเรื่องของ AI มาช่วยในการอ่านวิเคราะห์ภาพถ่ายเอกเรย์ปอด แต่ AI ในปัจจุบันยังมีความผิดพลาดในการแปลผลอยู่อย่างมาก ในงานวิจัย พบว่าการติดตามด้วยเอกเรย์ปอดปกติทุกปีกลับไม่ลดอัตราการตายจากมะเร็งปอด จึงอาจตีความได้ว่าการตรวจเอกเรย์ปอดนั้นประสิทธิภาพในการตรวจพบมะเร็งปอดในระยะแรกนั้นไม่ดีเท่าที่ควร อาจส่งผลต่อการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยที่ล่าช้า
ถ้าเอกเรย์ปอดทั่วไปมองเห็นไม่ดี แล้วควรตรวจด้วยอะไร?
การทำเอกเรย์คอมพิวเตอร์ (Chest computed tomography : CT Chest) มีข้อดีที่เหนือชั้นกว่าการทำเอกเรย์ปอดทั่วไปอย่างมาก ด้วยการมองภาพที่เห็นเป็นสามมิติ สามารถบ่งบอกลักษณะของก้อน รวมถึงตำแหน่งได้อย่างชัดเจน สามารถแยกเงาออกจากอวัยวะข้างเคียงได้ สามารถใช้สำหรับการวางแผนการรักษาได้อย่างดี และอาจมองเห็นสิ่งผิดปกติอื่นๆที่มองเห็นได้ไม่ชัดเจนจากภาพถ่ายเอกเรย์ปกติได้ ช่วยทำให้การวินิจฉัยเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ตรวจพบจุดผิดปกติได้แม้ขนาดของจุดจะเล็กเพียง 2-3 มิลลิเมตร แต่การทำเอกเรย์คอมพิวเตอร์นั้นมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการทำเอกเรย์ปอดทั่วไปอย่างมาก รวมถึงปริมาณรังสีที่ได้รับด้วยเช่นกัน
เพื่อให้การคัดกรองเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และลดข้อเสียจากการทำเอกเรย์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ปริมาณรังสีที่สูง และการฉีดสารทึบแสงที่มีผลต่อไต จึงได้มีการพัฒนาเทคนิคการทำเอกเรย์คอมพิวเตอร์ปอดโดยใช้ปริมาณรังสีที่น้อยลงและไม่ต้องฉีดสารทึบแสง (Low-dose CT : LDCT) เพื่อกลบข้อเสียข้างต้นขึ้นโดยยังได้ข้อดีของการถ่ายภาพเป็นสามมิติอยู่ โดยแลกกับความละเอียดของภาพที่ลดลงเล็กน้อย แต่ยังคงสามารถเห็นจุดผิดปกติได้ สามารถทำได้บ่อยมากขึ้น สามารถใช้ติดตามได้ในระยะยาว การทำเอกเรย์คอมพิวเตอร์ด้วยเทคนิคดังกล่าวจึงถูกใช้เป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดที่ยอมรับอย่างแพร่หลายทั่วโลก
แล้วเมื่อใดจึงควรมาตรวจด้วย Low-dose CT?
การมาตรวจด้วย LDCT อาจไม่ได้มีแต่เพียงข้อดีอย่างเดียวเท่านั้น การตรวจด้วย LDCT ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการทำเอกเรย์ปอดทั่วไปประมาณหนึ่ง อีกทั้งการตรวจพบจุดผิดปกติส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้เข้ารับการตรวจแม้ว่าจุดดังกล่าวอาจไม่ได้ร้ายแรงก็ตาม ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์จากการทำ LDCT มากที่สุด จึงแนะนำให้ตรวจในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็งปอด
เป็นที่ทราบกันดีว่าบุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด โดยพบว่าการสูบบุหรี่นั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่มากถึง 20 เท่า แต่การสูบบุหรี่ในปริมาณเท่าใดจึงนับว่ามีความเสี่ยงสูง ให้ลองคำนวณจากการคิดค่าเฉลี่ยของการสูบบุหรี่ในแต่ละวันจำนวนหน่วยเป็นซอง คูณด้วยจำนวนปีที่สูบ จะได้จำนวนซองบุหรี่ที่สูบ (pack-year) ถ้าหากท่านมีอายุ 50 ปี ขึ้นไป และคำนวณจำนวนซองบุหรี่ที่สูบได้ตั้งแต่ 20 pack-year ขึ้นไป ควรได้รับการการตรวจคัดกรองด้วย LDCT
บุหรี่มือสองคือการสัมผัสหรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีการสูบบุหรี่ ทำให้ได้รับควันบุหรี่เข้าไปโดยที่ไม่ได้สูบโดยตรง แม้ว่าจะมีรายงานถึงความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งปอด แต่การหาปริมาณที่ร่างกายได้รับยังคงคำนวณได้ยาก จึงอาจต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงอื่นๆร่วมด้วย
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่ควรพิจารณา
- ประวัติมะเร็งปอดในครอบครัวโดยเฉพาะญาติสายตรง อันได้แก่ พ่อแม่ พี่น้อง ลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติการเกิดมะเร็งในครอบครัวหลายคน หรือการวินิจฉัยมะเร็งในอายุน้อย
- ประวัติเคยเป็นมะเร็งที่ตำแหน่งอวัยวะอื่นมาก่อน
- ประวัติการป่วยเป็นโรคปอด เช่น ถุงลมโป่งพอง และ ภาวะผังผืดในปอด
- การทำงานที่สัมผัสกับสารก่อมะเร็ง อาทิ สารหนู (Arsenic), แร่ใยหิน (Asbestos), ธาตุเบริลเลียม (Beryllium), แคตเมี่ยม (Cadmium), โครเมี่ยม (Chromium), ควันถ่าน (Coal smoke), ไอดีเซล (diesel fumes), นิกเกิล (Nickel), ซิลิกา (silica), เขม่า (soot) และ ยูเรเนี่ยม (uranium)
- ผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้กับ Radon (ก๊าซผลผลิตจากยูเรเนียม-238 และ เรเดียม-226)
มะเร็งปอดเป็นแล้วรักษายาก โอกาสเสียชีวิตสูง?
เรามักได้ยินกันประจำถึงเรื่องการรักษามะเร็งปอดต้องให้ยาเคมีรุนแรง ผ่าตัดแล้วได้ผลไม่ดี ความเสี่ยงจากการผ่าตัดสูง รักษาไม่หายสักที อันที่จริงแล้วการรักษามะเร็งปอดในระยะแรกสามารถทำการรักษาด้วยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอ อีกทั้งการผ่าตัดปอดในปัจจุบันวิทยาการการผ่าตัดก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก ทำให้สามารถทำการผ่าตัดผ่านกล้องแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลงไม่ได้น่ากลัวเหมือนสมัยก่อนแล้ว การตรวจพบความผิดปกติในระยะแรกเริ่มจึงส่งผลดีต่อการรักษา ทั้งการผ่าตัดที่ง่ายขึ้น ความเสี่ยงจากการผ่าตัดที่น้อยลง โอกาสหายจากโรคที่สูงขึ้น และลดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาเคมี จึงดีกว่าหรือไม่หากเราวินิจฉัยจุดผิดปกติได้เร็วก่อนจะมีอาการหรือระยะที่รักษาได้ยาก
Reference
- 2024 NCCN Guidelines for Lung cancer screening
- Kidane B, Bott M, Spicer J, et al. The American Association for Thoracic Surgery (AATS) 2023 Expert Consensus Document: Staging and multidisciplinary management of patients with early-stage non-small cell lung cancer. J Thorac Cardiovasc Surg. 2023
- National Lung Screening Trial Research Team; Aberle DR, Adams AM, Berg CD, Black WC, Clapp JD, Fagerstrom RM, Gareen IF, Gatsonis C, Marcus PM, Sicks JD. Reduced lung-cancer mortality with low-dose computed tomographic screening. N Engl J Med. 2011 Aug 4;365(5)
- Oken MM, Hocking WG, Kvale PA, et al. Screening by Chest Radiograph and Lung Cancer Mortality: The Prostate, Lung, Colorectal, and Ovarian (PLCO) Randomized Trial. JAMA. 2011;306(17):1865–1873
- Hamra GB, Guha N, Cohen A, Laden F, Raaschou-Nielsen O, Samet JM, Vineis P, Forastiere F, Saldiva P, Yorifuji T, Loomis D. 2014. Outdoor particulate matter exposure and lung cancer: a systematic review and meta-analysis. Environ Health Perspect 122:906–911
05 เมษายน 2567
นพ. ศรัณย์ จิระมงคล
ความเชี่ยวชาญ
ศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก